“กฟก.ขอนแก่น” พื้นที่ติดตามเยียวยากลุ่มเกษตรกร ที่ค้างชำระหนี้แทน 3 ปี
“กฟก.ขอนแก่น” พื้นที่ติดตามเยียวยากลุ่มเกษตรกร ที่ค้างชำระหนี้แทน 3 ปี
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ขอนแก่น พร้อมด้วยอนุกรรมการจังหวัดฯ ร่วมกันลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทน จากสถาบันการเงินแล้ว และจะต้องชำระคืน กฟก.พื้นที่อำเภอเมืองจอนแก่น จำนวน 4 จุด ซึ่งใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันพื้นที่นาไร่ โดยไถ่ถอนมาจากสถาบันการเงิน ซึ่งค้างชำระค่างวดมาเป็นจำนวน 3 ปี แล้ว พร้อมแนะนำการจัดการ แผนการชำระคืน ให้กับกองทุนฯ
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567 ภายใต้การอำนวยการของ ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น(กฟก.) มอบหมายให้นายประดิษฐ์ สิงสง รองประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จ.ขอนแก่น ,นายรังสิต ชูลิขิต,นายหมวดตรีชูไทย วงศ์บุญมี คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น,นายสานิต เชิดโคกสี หน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น, นายปวัตน์พานอนันต์,นางสาววรางคณา ศิริชมภู และนายอนุสรณ์ สุสวดโม้ ทีมงานจัดการหนี้ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนา สาขาจังหวัดขอนแก่น พื้นที่ติดตามเยียวยากลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทน ซึ่งค้างชำระค่างวดมาจำนวน 3 ปีจำนวน 3 ราย ซึ่งใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกันเป็นพื้นที่นาไร่ โดยไถ่ถอนมาจาก สถาบันการเงิน
โดย เกษตรกรรายแรกคือ นางนันทวัน (ขอสงวนนามสกุล) วันที่ทำสัญญา 9 /03/2564 ปี 64 เลขที่สัญญา 402564000007 วงเงินกู้(บาท) 1,248,780.83 บาท อัตราดอกเบี้ยเปอร์เซ็นต์ต่อปี 0.00 บาท ชำระคืนงวดละ 83,252.06 บาท เพิ่งชำระมาแล้วจำนวน 14 งวด เป็นชำระเป็นรายปี ซึ่งนางนันทวัน กล่าวว่า ในการที่มีการผิดนัดชำระหนี้นั้น ปีที่ผ่านมาเกิดให้ภาวะ เศรษฐกิจไม่ดีเคลียร์หนี้สินไม่ได้ เพราะพี่น้องขายที่ขายทางก็ไม่ได้ ยังไม่พอใช้หนี้ ตอนนี้ก็ได้รับสภาพหนี้โดยแยกจะทำการผ่อนชำระ ตามกำลังที่ตัวเองทำได้ ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการทำการเกษตร ไถไร่ไถนาเพื่อที่จะได้ผ่อนชำระหนี้ ต่อไป
ส่วนรายที่ 2 นางวาสนา (ขอสงวนนามสกุล) เกษตรกรชาวบ้านหินลาด ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ชำระหนี้แทนจากธนาคารกรุงไทย วงเงินกู้ 96,432,18 วันที่ทำสัญญา 26/10 /2561 เลขที่สัญญา 4 ผู้มาเลี้ยงสุกร จ่ายไปแล้ว 7 หมื่นกว่าบาท มียอดค้างชำระ 27,000 บาท ใช้ที่นาเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน 38 ไร่ สิ้นสุดสัญญาแล้ว ปี 2566 ต่ออายุสัญญาให้อีก 2 ปี
ซึ่งทางนายประดิษฐ์ สิงสง รองประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จ.ขอนแก่น ได้ให้คำแนะนำกับเกษตรกรว่า ให้บรรดาพี่ -น้องที่จะได้รับมรดกแปลงนา ร่วมลงเงินมา ปิดชำระหนี้คืน เพื่อที่จะนำโฉนดออกจากกองทุนฟื้นฟูณเพื่อที่จะได้มาแบ่งปัน กัน หรือไม่งั้น ถ้ามีเงิน 500 บาท ขึ้นไปก็ส่งไปได้เรื่อยๆ จนถึง 2 ปี หรือถ้ามีความจำเป็น ถ้าอยากให้แบ่งปันกันก็รวบรวมกันมาปิดยอด ส่วนนางวาสนา *ขอสงวนนามสกุล) เกษตรกรชาวบ้านหินลาด ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ชำระหนี้แทนจากธนาคารกรุงไทย วงเงินกู้ 96,432,18 เปิดเผยกับคณะกรรมการกองทุนฯว่ารู้จักกองทุนฯจากการที่พ่อ ซึ่งเป็นอดีตกำนันบ้านค้อ จัดตั้งเป็นชมรมเขียนโครงการขึ้นมา โดยได้เอาที่นาไปค้ำประกัน เพื่อกู้เงินจากกองทุนฯมาลงทุนทำ เห็ดบด ซึ่งแม่เป็นอดีตประธานกลุ่ม ฯ ซึ่งในครั้งนั้นโครงการได้ผ่านการอนุมัติจากกองทุนษ ให้มาดำเนินกิจการ
ที่สำคัญกองทุนไม่มีดอกเบี้ย และไม่มีค่าปรับถ้าไปอยู่ในธนาคารพาณิชย์ ไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้น โดยส่วนตัว ถูกบังคับคดี ขายทอดตลาดไปแล้ว ซึ่งทางกองทุน ได้ไปทำการชำระหนี้แทน โดยโอน หนี้สินมาอยู่ในกองทุนฯ ส่วนในรายที่ 3 ผู้ที่ถูก ชำระหนี้แทน จากกองทุนฟื้นฟู ได้เสียชีวิตลง ยอดเงิน 240,350.68.สตางค์ ซึ่งสามีติดเตียง มีบุตร 3 คนโดยคนที่ 2 กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมปลายโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง ซึ่งมีแม่ อายุ 76 ปี ลูก ซึ่งต้องรับจ้างดำนาเก็บหอยเพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว แนวทางแก้ไข กำลังดำเนินการหาขายพื้นที่นา เพื่อที่จะมาปิดหนี้สิน ที่ผ่านมาได้ผ่อนเดือน 16,023.38 สตางค์ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนายหมวดตรีตรีไทยวงศ์บุญมี ได้ให้คำแนะนำกับเกษตรกรว่า ควรที่จะให้มี เงินผ่านเข้ามาในระบบสักเล็กน้อยก็ยังดี ซึ่งทางกองทุนก็ไม่ได้เร่งรัด อะไรพร้อมต่อสัญญาไปให้อีก 2 ปี
ด้าน นายรังสิต ชูลิขิต อนุกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ในพื้นที่ติดตามเยียวยากลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการชำระหนี้แทน ซึ่งค้างชำระค่างวดมาจำนวน 3 ปี
ในครั้งนี่เพื่อพบปะพูดคุยกับเพื่อจะชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องหลักเกณฑ์การเข้าช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรสมาชิกกองฟื้นฟูฯที่ได้ถูกชำระหนี้แทน และเป็นหนี้อยู่.