อ.โพธิ์ตาก จัดประเพณีกำฟ้า เผาข้าวหลาม จี่ข้าว สักการะบูชาฟ้า สำนึกบุญคุณของฟ้าที่ให้น้ำฝน
อ.โพธิ์ตาก จัดประเพณีกำฟ้า เผาข้าวหลาม จี่ข้าว สักการะบูชาฟ้า สำนึกบุญคุณของฟ้าที่ให้น้ำฝน
อำเภอโพธิ์ตาก จัดประเพณีกำฟ้า เผาข้าวหลาม จี่ข้าว รวมถึงการละเล่นพื้นบ้าน ได้ยึดถือปฏิบัติต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในการนับถือสักการะบูชาฟ้า สำนึกบุญคุณของฟ้าที่ให้น้ำฝน
วันที่ 20 มี.ค.67 ที่ วัดโพธิรุกขาราม บ้านโพธิ์ตาก หมู่ 2 ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย เพื่อทราบเกี่ยวกับประเพณี ก้ำฟ้า ที่น่าสนใจของชาวอำเภอโพธิ์ตาก ที่ได้มีการอนุรักษ์ประเพณี “กำฟ้า” มาอย่างยาวนานอยู่จนถึงเยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณต่อเจ้าชมพู ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพวน แขวงเชียงขวาง สปป.ลาว องค์ที่ 43 ภายในงานได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับบุญกำฟ้า โคยปราชญ์ชาวบ้าน, การแสดงของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาวแล,โรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม,โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลโพธิ์ตาก , ฐานกิจกรรมต่างๆ เช่น การจี่ข้าวจี่,การทำและเผาข้าวหลาม,การตำข้าวเม่าแบบโบราณ,การจูบหอย รวมทั้งการละเล่นพื้นบ้านโบราณ เช่น เดินโก่งโกะ เดินโก่งเกว หมากเก็บ ยิงสะบ้า โยนหลุม จูมบาน และม้าก้านกล้วย
ประเพณีกำฟ้า ได้จัดขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ก่อนวันกำฟ้า 1 วัน คือวันขึ้น 2 ค่ำเดือน 3 จะถือเป็นวันสุกดิบแต่ละบ้านจะทำข้าวปุ้น หรือ ขนมจีน พร้อมทั้งน้ำยา และน้ำพริกไว้เลี้ยงดูกัน มีการทำข้าวหลามเผาไว้ในกระบอกข้าวหลามอ่อน มีการทำข้าวจี่ ข้าวจี่ทำโดยนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดพอเหมาะ อาจจะใส่ใส้หวานหรือใส่ใส้เค็มหรือไม่ใส่ใส้เลยก็ได้ เสียบเข้ากับไม้ทาโดยรอบด้วยไข่ แล้วนำไปปิ้งไฟจนสุกหอม ข้าวจี่จะนำไปเซ่นไหว้ผีฟ้าและแบ่งกันกินในหมู่ญาติพี่น้อง
พอถึงวันกำฟ้าทุกคนในบ้านจะไปทำบุญที่วัด มีการใส่บาตรด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ ตกตอนบ่ายจะมีการละเล่นไปจน ถึงกลางคืน ประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวนโดยเชื่อกันว่า เมื่อได้มีการทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีและประกาศขอพรจากเทวดาผู้รักษาฝากฟ้า แล้วเทวดาจะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลสาเหตุที่เกิดประเพณีกำฟ้า เพราะชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาจึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวว่าฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือฟ้าจะผ่าคนตาย เพื่อผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ
ยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งหมายถึงความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ ความมีชีวิตของคน สัตว์และพืชต่างๆ จึงเกิดเป็นประเพณีกำฟ้าขึ้น แต่เดิมวันกำฟ้าถือกำหนดเอาวันที่มีผู้ได้ยินเสียงฟ้าร้องครั้งแรกในเดือน 3 เป็นวันเริ่มประเพณีกำฟ้า เพราะถือกันว่าเป็นวันที่ฟ้าเปิดประตูน้ำ แต่การยึดถือในวันดังกล่าว มักมีข้อผิดพลาดเกิดการโต้แย้ง กัน เนื่องจากบางคนไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง ต่อมาได้กำหนดเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันเตรียมงาน วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันกำฟ้า สัตว์เลี้ยงที่เคยใช้งานก็จะให้หยุดการทำงาน ในวันนี้ถ้าใครทำงานชาวไทยพวนเชื่อว่าจะเกิดพิบัติต่างๆ ฟ้าจะลงโทษโดยถูกฟ้าผ่า ห้ามไม่ให้พูดคำหยาบคาย ในช่วงเวลากำฟ้าผู้สูงอายุในครอบครัวจะคอยฟังฟ้าร้อง เพื่อพยากรณ์ความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพเสียงฟ้าร้อง หมายถึง การเปิดประตูน้ำ
ชาวพวนมีความสามารถในด้านการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา สมัยก่อนต้องพพึ่งพาธรรมชาติ ชาวนาจึงเกรงกลัวต่อฟ้ามาก จึงมีการเซ่นไว้ สักการบูชา ซึ่งชาวบ้านรู้สึกสำนึกบุญคุณของฟ้าที่ให้น้ำฝน ทำให้มีประเพณีนี้เกิดขึ้น แต่เดิม ถือเอาวันที่มีผู้ที่ได้ยินฟ้าร้องครั้งแรกในเดือน 3 เป็นวันเริ่มประเพณี แต่ทุกคนไม่สามารถได้ยินได้ทุกคน ภายหลังจึงกำหนดให้วันกำฟ้า คือ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ในปัจจุบันสังคมและวัฒนธรรมจะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติและก็ยังมีชาวบ้านรุ่นหลังอีกจำนวนหนึ่งที่พยายามอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ จึงนับได้ว่าเป็นการฟื้นฟูประเพณีพื้นบ้านให้สืบต่อไป
ฤาษีลภ จังหวัดหนองคาย