"เทียนตะคันดินเผา" สืบสานความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมของสุโขทัย - ไทยเสรีนิวส์
“เทียนตะคันดินเผา” สืบสานความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมของสุโขทัย

“เทียนตะคันดินเผา” สืบสานความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมของสุโขทัย

พิธีเผาเทียนนั้นถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญในงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในค่ำคืนวันเพ็ญเดือน ๑๒ โดยใช้ “ตะคัน” หรือถ้วยเทียนบูชา ที่เป็นภาชนะดินเผาบรรจุขี้ผึ้งไขเปรียง มีไส้เชื้อเพลิง จุดแล้วมีแสงสว่าง คนโบราณจึงเรียกว่า “เผาเทียน” เมื่อนำไปวางตามฐาน หรือระเบียงโบสถ์ วิหาร เจดีย์ เกิดเป็นแสงระยิบระยับนับร้อยนับพัน ถือเป็นบุญกุศลที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมศรัทธา


“บ้านตะคัน คุณจูคุณจิต” ที่ชุมชนบ้านใหม่ตะพังทอง ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย โดยมีคุณชัยรัตน์ ภุมราเศวต หรือลุงจู อายุ 59 ปี เล่าให้ฟังว่า “ตะคัน” หรือ “ตะคันดินเผา” มีลักษณะคล้ายจานขนาดเล็กที่ทำมาจากดินโดยการนำไปปั้นให้เป็นรูปทรงแล้วนำไปเผา บางบ้านใช้สำหรับวางเทียนอบ วางกำยาน แต่บางบ้านก็นำตะคันมาใส่น้ำมันหรือเทียนขี้ผึ้งและใส่ไส้เส้นด้ายใช้เพื่อจุดไฟ นำไปตกแต่งสถานที่ก็มี อาทิ รีสอร์ท โรงแรม ร้านกาแฟ หรือนำไปประกอบการแสดงร่ายรำก็มี

ปัจจุบันที่นี่เปิดเป็น “ศูนย์การเรียนรู้บ้านตะคัน” โดยจะมีผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้การทำตะคันดินเผากันมากมาย จึงรู้สึกภูมิใจได้เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้จังหวัดสุโขทัยต่อการสืบสานการทำตะคันดินเผา และเพิ่มบรรยากาศความสวยงามให้กับงานลอยกระทงสุโขทัยมาทุกปี




สำนักงานใหญ่ เลขที่ 76 หมู่ 20 ถนนกสิกรทุ่งสร้าง ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000