อ.ราชสาส์น รณรงค์ลดการเผาตอซังฟางข้าว “ไม่เผา เราทำได้” ลดปัญหามลภาวะฝุ่นละออง (ชมคลิป) - ไทยเสรีนิวส์
อ.ราชสาส์น รณรงค์ลดการเผาตอซังฟางข้าว “ไม่เผา เราทำได้” ลดปัญหามลภาวะฝุ่นละออง (ชมคลิป)

“ราชสาส์นโมเดล” โครงการรณรงค์ลดการเผาในพื้นที่การเกษตร “ไม่เผา เราทำได้” เพื่อลดปัญหาการเผาตอซังฟางข้าวของเกษตรกรที่จะก่อให้เกิดมลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก และเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกเพื่อทดแทนการเผา เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน อีกทั้งยังให้หาแนวทางหารายได้การอัดฟางข้างขายส่งผลต่อผลผลิต และรายได้เพื่อความยั่งยืนของเกษตรกร

 

นายเกรียงไกร ปัญญาพงศธร นายอำเภอราชสาส์น เป็นประธานเปิดกิจกรรม รณรงค์ลดการเผาในพื้นที่เกษตรอำเภอราชสาส์น พ.ศ.2564 “ไม่เผา เราทำได้” จัดขึ้นที่หอประชุมอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งพร้อมด้วย สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา สถานีพัฒนาที่ดินฉะเชิงเทรา กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติไทยพีบีเอส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. สำนักงานเกษตรอำเภอราชสาส์น สถานีตำรวจภูธรราชสาส์น ส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอราชสาส์น บริษัท ยันมา เอส พี จำกัด บริษัท ป.ต.ท. จำกัด (มหาชน) เกษตรกร และนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมพิธีเปิดอย่างพร้อมเพรียง


โดยสาเหตุหลักที่เกษตรกรมีการเผาในพื้นที่เกษตร เนื่องจากเกษตรกรมีต้นทุนน้อย การเผาเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ และเกษตรยังไม่มี วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลการเกษตร ที่จะนำมาอัดฟาง เป็นต้น
การซื้อ-ขายฟาง มีข้อจำกัด ได้แก่ การซื้อไม่ทันเนื่องจากผู้ค้าน้อยราย การเข้าไม่ถึงแปลงที่ที่ต้องการซื้อ และที่สำคัญการประสานบูรณาการระหว่างหน่วยงาน และการบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิภาพ
“ราชสาส์นโมเดล”เป็นแนวทางลดการเผาในพื้นที่การเกษตร ซึ่งมีการประชุมผู้เกี่ยวข้อง ทบทวนปัญหาที่ผ่านมา กำหนดแนวทาง การบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนงาน


ภายใต้โครงการ “รณรงค์ลดการเผาในพื้นที่การเกษตร” อำเภอราชสาส์น มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก “ลดการเผา”เสริมความรู้เทคนิควิธี “ทำนาโดยไม่ต้องเผา” เช่น ไถกลบ การหมักตอซัง ขอความร่วมมือ สร้างแรงจูใจ เกษตรกรให้เข้าร่วมโครงการฯ และทำข้อตกลง(MOU)หยุดเผา ซึ่งมีเกษตรกรที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์ “ไม่เผา เราทำได้” รวม 604 ราย ทั้งนี้ยังได้มีแปลงสาธิต เพื่อสาธิตการไถกลบตอซัง และการปรับปรุงบำรุงดิน และได้มีการขอรับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน ตามมาตรการ “ดึงฟางออกจากไฟ” เป้าหมายคือ การนำฟางออกจากพื้นที่ให้ได้มากที่สุด โดยหาผู้รับซื้อฟางให้เพียงพอต่อปริมาณฟาง และ ภาครัฐช่วยอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการทั้งการซื้อ และการขนส่งฟาง โดยมีการจัดกิจกรรม Kick Off โครงการ “รณรงค์หยุดเผาในพื้นที่การเกษตร” อำเภอราชสาส์น

 


พนร้อมทั้งกำหนดมาตรการรับมือ ด้วยการจัดชุดเฝ้าระวัง และชุดระงับเหตุ และบังคับใช้กฎหมาย ติดตามประเมินผล เพื่อเป็นข้อมูลขับคลื่อนในปีต่อไป เช่น ผลผลิต รายได้เกษตรกรหลังเข้าร่วมโครงการ
ในปัจจุบันพบว่าในประเทศไทยมีการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมเป็นปัญหาสำคัญ เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดมลภาวะส่งผลต่อสุขภาพของประขาชนในพื้นที่แล้ว ยังส่งผลโดยตรงต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร ในส่วนของอำเภอราชสาส์นเอง มีพื้นที่ทำนาถึง 31,000 ไร่ หลังการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะเดือนมกราคม-มีนาคม ของทุกปี มักพบการเผาตอชังฟางข้าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ อำเภอราชสาส์นจึงได้จัดทำโครงการ “รณรงค์ลดการเผาในพื้นที่การเกษตร” เพื่อลดสาเหตุของการเกิดมลภาวะโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และเพิ่มทางเลือกเพื่อทดแทนการเผา เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่งผลต่อผลผลิต รายได้และความยั่งยืนของเกษตรกรต่อไป…..

 

ศักรินทร์ กิยาหัต รายงาน




สำนักงานใหญ่ เลขที่ 76 หมู่ 20 ถนนกสิกรทุ่งสร้าง ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000