มั่นใจได้อย่างไร บริจาคโลหิตแล้วปลอดภัย ในสถานการณ์ COVID-19
มั่นใจได้อย่างไร บริจาคโลหิตแล้วปลอดภัย ในสถานการณ์ COVID-19
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้น มาตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กระทบทุกภาคส่วน การจ้างงาน การท่องเที่ยวและ การบิน การส่งออก การศึกษา และด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นปัญหาโดยตรงของการระบาด COVID-19 ที่ส่งผล ต่อมวลมนุษยชาติ รวมทั้งการปรับตัวของผู้คน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่ กิจกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน ไม่สามารถใกล้ชิดกัน รวมกลุ่มกันจำนวนมาก เพราะเป็นห่วงเรื่องการแพร่กระจาย การบริจาคโลหิตก็เช่นเดียวกัน สร้างความ วิตกกังวลต่อประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาพรวมการบริจาคโลหิตทั่วประเทศ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ผู้บริจาคโลหิตลดลง 50% หน่วยเคลื่อนที่ยกเลิก โรงพยาบาลเบิกเลือดและไม่สามารถ จ่ายให้กับโรงพยาบาลได้ ส่งผลให้โรงพยาบาลทั่วประเทศขาดแคลนเลือด และจำเป็นต้องเลื่อนการผ่าตัด เลื่อนการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเลือดที่จำเป็นต้องได้รับเลือดเป็นประจำสม่ำเสมอ
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ทำหน้าที่จัดหาโลหิตบริจาค ให้มีปริมาณเพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณภาพสูงสุด ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในหลายมิติ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการรับบริจาคโลหิตมีความปลอดภัย ตั้งแต่ต้นทาง คือ ผู้บริจาคจนปลายทาง คือ ผู้ป่วย รวมทั้งผู้รับบริการอื่นๆ
มาตรการการเตรียมความพร้อมด้านสถานที่
1. ทำความสะอาดทุกจุดสัมผัสร่วมต่างๆ ภายในอาคาร ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และอบ OZONE ห้องรับบริจาคโลหิต
2. จัดพื้นที่รองรับบริการแต่ละขั้นตอน โดยมีการเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร (Social Distancing)
3. จัดวางแอลกอฮอล์เจล ทำความสะอาดมือทั่วอาคาร
-2-
4. จัดตั้งฉากกั้นระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้บริจาคโลหิตทุกจุดของกระบวนการบริจาคโลหิต ตั้งแต่จุดกรอกแบบฟอร์มบริจาคโลหิต จุดตรวจวัดความเข้มข้นโลหิต ห้องตรวจคัดกรองผู้บริจาคโลหิต และห้องบริจาคโลหิต
5. จัดเตรียมเครื่องวัดอุณหภูมิคัดกรองบุคลากรและผู้บริจาคโลหิต ก่อนเข้าพื้นที่อย่างเคร่งครัด
มาตรการการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร
1. บุคลากรที่มีบ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงให้กักกันตัว ปฏิบัติงานที่บ้าน
2. จัดรถ รับ-ส่ง บุคลากรกรณีที่ไม่มีรถส่วนตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ
3. บุคลากรทุกคนต้องวัดไข้ก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานทุกครั้ง ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เป็นประจำ
4. บุคลากรทุกคน ต้องไม่ไปในพื้นที่เสี่ยง หรือแหล่งที่มีผู้คนจำนวนมาก
5. บุคลากรนำอาหารจากบ้านหรือซื้ออาหารเข้ามารับประทาน ไม่ไปนั่งรับประทานที่ร้านอาหารหรือที่สาธารณะ
มาตรการเพิ่มความปลอดภัยของโลหิตบริจาคสำหรับใช้รักษาผู้ป่วย
นอกจากการเพิ่มมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับ ผู้บริจาคโลหิตแล้ว ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ยังกำหนดมาตรการในการคัดกรองประวัติสุขภาพผู้บริจาคโลหิต อย่างรัดกุม ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยขอให้ ผู้บริจาคคัดกรองตนเองก่อนเดินทางมาบริจาคโลหิต เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส เดินทางไปยังสถานบันเทิง หรือสถานที่แออัด และถ้าผู้บริจาคโลหิตอาศัย อยู่ในพื้นที่ หรือเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาด สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด หรือเป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ โรคโควิด-19 ต้องงดบริจาคโลหิตชั่วคราวอย่างน้อย 28 วันหรือ 4 สัปดาห์ สิ่งสำคัญที่ต้องขอความร่วมมือ คือ ผู้บริจาคจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตนเองด้วยความเป็นจริง และ หากภายใน 14 วัน หลังจากการบริจาคโลหิต หากพบหรือได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ ผู้บริจาคโลหิต ควรแจ้งให้หน่วยงานที่ได้ไปบริจาคโลหิตทราบทันที เพื่อจะได้กักกันหรือเรียกคืนส่วนประกอบโลหิตของ ผู้บริจาครายนั้นๆ กลับมาและไม่นำไปใช้รักษาผู้ป่วย
-3-
มาตรการทั้งหมดครอบคลุมทั้งที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่ง ทั่วประเทศ หน่วยเคลื่อนที่ และหน่วยเคลื่อนที่ประจำทุกแห่ง ในภาวะขาดแคลนโลหิตนี้ ขอให้ประชาชนและผู้บริจาคโลหิตทุกท่าน มั่นใจว่าเมื่อมาบริจาคโลหิต จะไม่มีความเสี่ยงในการรับเชื้อ เราคำนึกถึงผู้บริจาคและผู้ป่วยเป็นอันดับแรก ร่วมบริจาคโลหิตฝ่าวิกฤติ COVID-19 ส่งต่อโลหิตที่ปลอดภัยให้กับผู้ป่วย
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
โทรศัพท์ 0 2256 4300 และ 0 2263 9600-9 ต่อ 1760, 1770
อีเมล : [email protected].
เว็บไซต์ : http://www.blooddonationthai.com
คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิตเบื้องต้น และการเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
1. อายุ 17-70 ปี อายุ 17 ปี ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ปกครอง และถ้าบริจาคสม่ำเสมอต่อเนื่องสามารถบริจาคได้จนถึงอายุ 70 ปี
2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 5 ชั่วโมง
4. สุขาภาพร่างกายดี ไม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
5. ทานอาหารประจำมื้อมาก่อนบริจาคโลหิต งดอาหารหวานจัด มันจัด
6. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง
7. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง
8. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
******************************